welcome To blog

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


หลักการและความรู้ทั่วไปเทคนิคการให้คำปรึกษา

ความหมายของการให้คำปรึกษา
                การให้คำปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อสื่อสารกันด้วยวาจาและกิริยาท่าทาง ที่เกิดจากสัมพันธภาพทางวิชาชีพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้และผู้รับคำปรึกษา
ผู้ให้คำปรึกษาในที่นี้หมายถึง ครูที่มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการให้คำปรึกษา มีความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษา ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับคำปรึกษาหรือนักเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กำลังประสบความยุ่งยากใจ หรือมีความทุกข์และต้องการความช่วยเหลือให้เข้าใจตนเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อม ให้มีทักษะในการตัดสินใจ และหาทางออกเพื่อลดหรือขจัดความทุกข์ ความยุ่งยากใจด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Burks and Shefflre, 1979 อ้างถึงใน George & Cristiani, 1995)
การให้คำปรึกษานี้มีลักษณะที่แตกต่างจากการให้บริการอื่นๆ ดังนี้ คือ (กรมสุขภาพจิต, 2540 ; Gladding, 1996)

                1. มีทฤษฏี กระบวนการและเทคนิคการให้คำปรึกษาให้ครูได้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของปัญหาและธรรมชาติของนักเรียน
                2. เน้นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้ให้และนักเรียนผู้รับคำปรึกษา เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไว้วางใจ และกล้าเปิดเผยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้การให้คำปรึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้การสนทนา หรือการสื่อสารสองทางระหว่างครูกับนักเรียน เป็นเครื่องมือสำคัญของการให้คำปรึกษา
                3. เน้นปัจจุบัน เพื่อให้นักเรียนอยู่ในโลกของความเป็นจริง และสามารถค้นหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน
                4. ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว เพราะการให้คำปรึกษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ วิธีการแก้ปัญหาในแต่ละกรณีจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพปัญหา โดยนักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
                5. ครูผู้ให้คำปรึกษาต้องให้เกียรติ และยอมรับนักเรียนที่มาขอรับคำปรึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ตัดสิน ไม่ประเมิน และไม่วิพากษ์ วิจารณ์ หรือตำหนินักเรียน


เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
สูตรสมูทตี้แตงโม เป็นสูตรเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพง่ายๆ ที่ท่านสามารถทำได้เองที่บ้าน และใช้เวลาในการทำไม่มากเลย 
ส่วนผสม ( สำหรับสมูทตี้แตงโม 2 แก้ว )
เนื้อแตงโม 2 ถ้วยตวง ( นำเมล็ดแตงโมออกให้เรียบร้อย )
น้ำแข็งปน 1 ถ้วยตวง
โยเกิร์ตไขมันต่ำ 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
ขิงหั่นบางๆ 1/4 ถ้วยตวง
น้ำมันอัลมอนด์ 1/8 ช้อนชา
วิธีการทำ สมูทตี้แตงโม
ปั่นเนื้อแตงโม, โยเกิร์ต, น้ำแข็ง, น้ำตาล, ขิง และน้ำมันอัลมอนด์เข้าด้วยกัน รอจนเนื้อของสมูทตี้ผสมผสานเข้าที่แล้วก็เทใส่แก้ว 2 แก้วพร้อมรับประทาน
สมูทตี้แตงโมแก้วนี้ทำได้ง่ายและคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยทีเดียว เพื่อนๆสามารถนำไปทำได้เองที่บ้านเลยจ้า

เคล็ดลับผิวขาว และการดูแลผิว
ผิวสวย หน้าใส จากไพล สมุนไพรโบราณ
โดย : Jina
         สมุนไพรโบราณกับความสวยความงามของคุณสาวๆ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก ไม่ว่าการพอกหน้า
 หรือการขัดผิว สาวๆ นิยมให้สมุนไพรในการดูแลผิว และไพล ก็เป็นหนึ่งในการดูแลผิวของคุณสาวๆ อีกด้วย 
ผิวสวย หน้าใส จากไพล สมุนไพรโบราณคุณผู้หญิงส่วนใหญ่ปรารถนาในเรื่องความสวยความงาม ไม่ว่าจะ
ใบหน้า หรือผิวพรรณที่จะต้อง สวยเด่นสะดุดตา ซึ่งในปัจจุบันวิธีการบำรุงผิวหน้า และผิวกายนั้นมีมากมาย..

การเลือกที่จะใช้เครื่องสำอางในบางครั้งอาจจะต้องเสียเงินแพงๆ เพื่อให้ตัวเองขาว ใส ตลอดเวลา แต่เดียวนี้
ยังมีสาวๆ อีกมากมายที่หันตัวเองมาใช้สมุนไพรจากธรรมชาติในการดูแลตัวเอง ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ ก็ช่วยให้                สาวๆ ขาวและสวยได้เช่นกัน พูดมาซะขนาดนี้สาวๆ คงอยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะค่ะ ว่าสมุนไพรแบบไหนที่ช่วย
ให้คุณสาวๆ สวยใสขึ้นได้ งั้นเราไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
ไพล หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อ เพราะเป็นสมุนไพรไทย ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน จะเห็นจากตำหรับยาไทย
ต่างๆ จะมีไพล เป็นส่วนประกอบเสมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum Rosc วงศ์ Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ Thai ginger,Bengal ginger
ชื่อท้องถิ่น ปูลอย ปูเลย ( เหนือ) ว่านไฟ ( กลาง) มิ้นสะล่าง (แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณทางยา
ไพลเป็นพืชที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล นิยมปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชวงศ์เดียวกับ ขิง ข่า ตามตำหรับโบราณ 

ไพลเป็นส่วนผสมของยาอบสมุนไพร ช่วยสมานผิวและทำให้ผิวเต่งตึงสดใสจากการวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหย
จากเหง้ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ ขัด ยอกและปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้ผลดี
ไพลจัดว่าเป็นพืชล้มลุกที่สูงราว 1-1.5 เมตร มีดอกสีเหลืองนวล ออกดอกเป็นช่อรูปกรวย มีผลขนาดเล็กลักษณ

ะเป็นก้อนกลม แต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ส่วนเหง้าซึ่งมีเปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลือง
แกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะและเป็นส่วนที่เราสามารถนำมาทำแป้งขัดผิวช่วยทำให้ผิวผุดผ่องเป็นยองใย ลบริ้วรอย

จุดด่างดำ และทำให้ไม่เกิดสิว ทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระด้วย
วิธีทำแป้งไพลขัดผิว ก็โดยการนำเหง้าไพลหั่นหยาบๆ ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ พร้อมด้วยดินสอพอง 3 ถ้วยตวง 

 มาทุบให้พอแตกแล้วลงปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงเติมน้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
แล้วปั่นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้ง ก่อนนำมาปั้นเป็นก้อนเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้งสนิทดีแล้วจึงเก็บใส่

ขวดโหลเพื่อเก็บไว้ใช้ได้เป็นเวลานาน
ส่วนวิธีใช้นั้นก็เพียงนำแป้งไพล 2-3 ก้อน ผสมกับน้ำเย็นทาพอกหน้าก่อนนอนประมาณ 15-30 นาที จึงล้าง

 ออก แต่หากอยากให้ใบหน้าอ่อนนุ่มก็สามารถเติมนมสด หรือโยเกิร์ตประมาณ 2 ช้อนชาลงไปด้วยก็ได้
เพียงเท่านี้คุณสาวๆ ก็จะมีใบหน้าที่สวย ใส และสุขภาพดี โดยไม่ต้องเสียเงินแพงๆ ไปหาซื้อครีมบำรุงมาใช้กัน


วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จิตวิทยาการบริหารงานแนะแนว


การบริหารงานแนะแนว

ความหมายการบริหารงานแนะแนว
เป็นการจัดการเพื่อให้การจัดกิจกรรมแนะแนว การจัดบริการแนะแนว และการพัฒนาวิชาการแนะแนว ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ในการดำรงชีวิตด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคมกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 บริการ คือ 
1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล 
2. บริการให้คำปรึกษา 
3. บริการสนเทศ 
4. บริการจัดวางตัวบุคคล 
5. บริการติดตามผลและประเมินผล
องค์ประกอบสนับสนุนการบริหารงานแนะแนวด้านปัจจัย
1)ประเภทบุคคล/องค์กร   
         -  ผู้เกี่ยวข้อ
         -  เครือข่ายการแนะแนว
 2)ประเภทวิธีการ        
         - โครงสร้างการบริหารงานแนะแนว 
         - การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม
         - การประสานสัมพันธ์ 
 3)ประเภทสิ่งอำนวยความสะดวก
         - วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน
         - ห้องแนะแนวและห้องให้การปรึกษา เครื่องมือ ระเบียนสะสม แบบทดสอบ
         - งบประมาณ
ด้านกระบวนการ  
         - การจัดกิจกรรมแนะแนว
         - การจัดบริการแนะแนว
         - การส่งต่อนักเรียน
  ด้านผลผลิต  
         - สมรรถนะสำคัญ
         - คุณลักษณะอันพึงประสงค์
         - วัตถุประสงค์ของการแนะแนว
         - คุณภาพของผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด
โดยมีรายละเอียดพอสังเขป คือ
1.บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล หมายถึง การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์  และจัดระบบแล้ว จะทำให้ครูรู้จักนักเรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ทั้งสามารถช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจตนเองและยอมรับตนเองอีกด้วย เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหาหรือข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
      - บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสมบริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
      - ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
      - สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
2.บริการให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ อันจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ
      - ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
      - ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
      - เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
3.บริการสนเทศ หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล อันจะช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่ตรงกับความต้องการในการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถ
ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
    - การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
    - การจัดป้ายนิเทศ
    - การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
    - การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
    - การจัดวันอาชีพ
    - การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
    - การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
    - จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
4. บริการจัดวางตัวบุคคล หมายถึง การให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือฝึกฝนทักษะในเรื่องที่ตนสนใจ การจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ดังกล่าวนั้น โดยจัดให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกับกระบวนการเรียนการสอน ทั้งสอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจ ความต้องการ
5. บริการติดตามประเมินผล หมายถึง การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากบริการต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อติดตาม ดูแลว่านักเรียนมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนา ตลอดจนติดตามการจัดกิจการต่าง ๆ ว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด มีสิ่งใดต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น การติดตามผลจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้ถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่อง อันควรปรับปรุงส่งเสริมในบริการแนะแนว และได้ข้อคิดแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปให้ถูกกต้อง และบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น
เขียนโดย นันทพร บึ้งสลุง ที่ 14:27 
ป้ายกำกับ: การบริหารงานแนะแนวงาน


ความหมายของซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์ (Software)
1.ความหมายของซอต์ฟแวร์
            ซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
            ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
2. ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
-ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application     Software)
-ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1. ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
            ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
             System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
                2. ตัวแปลภาษา
1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
       1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
       2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
       3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน
       4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการ
      ลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
      ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
       5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
    นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1 ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
    ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2 ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)
    ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และUNIX เป็นต้น
3 ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user)
    ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการWindows NT และ UNIX เป็นต้น
2. ตัวแปลภาษา
   การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic,Pascal, C และภาษาโลโก เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fortran, Cobol, และภาษาอาร์พีจี
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Applicafion Software)
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
      ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.  ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
2.  ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software)
มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และ โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Multimedia)
3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
     ซอฟแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น:
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word, Sun StarOffice  Writer
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel, Sun  StarOffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PowerPoint, Sun StarOffice Impress
กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
    ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว และการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW, Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor, Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
        เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล การท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย  ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่:
โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook, Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer, Mozzila Firefox
โปรแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting
โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Messenger/ Windows Messenger, ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH, MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์


วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
           ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ  (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ความหมายของข้อมูล
            ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
*    ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
*    ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
*    ความถูกต้อง (accuracy)
*    ความเชื่อถือได้ (reliability)
*    การตรวจสอบได้ (verifiability)
 รูปแบบ (Format)
*    ชัดเจน (clarity)
*    ระดับรายละเอียด (level of detail)
*    รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
*    สื่อการนำเสนอ (media)
*    ความยืดหยุ่น (flexibility)
*    ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
*    ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
*    การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
*    มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
*    ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
*    การมีส่วนร่วม (participation)
*    การเชื่อมโยง (connectivity)
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS)           มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิตเอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
คน (People)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
* ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
* ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
* ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
* ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น               
 ประสิทธิผล (Effectiveness)
* ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
* ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
* ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย          
* ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
* คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)

เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
แหล่งที่มา 1.  http://203.154.140.2/ict1/1/page_2.htm